วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Tokyo Sonata วันที่หัวใจซ่อนเจ็บ

ภาพยนตร์ สะท้อนปัญหาครอบครัว
Tokyo Sonata  (วันที่หัวใจซ่อนเจ็บ)

ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักกับภาพยนตร์ Tokyo Sonata ก่อนนะค่
-เรื่องย่อ
Tokyo Sonata เป็นเรื่องราวของครอบครัวชนชั้นกลางชาวญี่ปุ่นธรรมดาๆ ครอบครัวหนึ่ง ซึ่งเราสามารถพบเห็นได้ทั่วไป ทั่วทุกมุมโลก พ่อ มีหน้าที่ทำงาน หารายได้เลี้ยงครอบครัว หน้าที่การงานมีความเจริญก้าวหน้าจนได้เป็นหัวหน้าแผนกในบริษัท แม่ ทำหน้าที่เป็นแม่บ้าน เลี้ยงดูลูกชายสองคนที่อยู่ในช่วงวัยรุ่น และ วัยที่เริ่มจะเป็นหนุ่ม ชีวิตของพวกเขาดำเนินมาอย่างเรียบง่าย เป็นขั้นตอน และดูเหมือนจะไม่มีปัญหาใดๆ เลยแม้แต่น้อยแต่ชีวิตก็คือชีวิต วันหนึ่งมันก็ดำเนินมาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไป เมื่อเรียวเฮ ผู้เป็นพ่อ ที่เคยภาคภูมิใจในสถานะของการเป็นผู้นำครอบครัว จนมาวันหนึ่งที่สถานะของเขาเริ่มสั่นคลอนเพราะภาวะเศรษฐกิจ แต่ด้วยสถานภาพทางสังคมและค่านิยมของคนญี่ปุ่น ทำให้เรียวเฮต้องปกปิดปัญหาของเขา  ก็ส่วนเมกูมิ อาจจะดูเหมือนแม่บ้านชาวญี่ปุ่นทั่วไป ที่ทำหน้าที่แม่บ้านอย่างเต็มตัว ดูเหมือนคนไม่มีปากไม่มีเสียง จนกระทั่งเกือบจะไม่มีตัวตน เธออุทิศตัวเองให้แก่ครอบครัว จนไม่มีเวลามาสนใจว่าจริงๆ แล้วตัวเองต้องการอะไรกันแน่จากชีวิตแต่งงาน แต่เธอก็เป็นเหมือนกาวที่คอยประสานชายหนุ่มทั้งสามคนในครอบครัวเข้าด้วยกัน เพื่อที่จะให้ครอบครัวเล็กๆ ของเธอดำรงอยู่ต่อไปได้ ส่วนทา เคชิ ลูกชายคนโต เป็นสัญลักษณ์แทนคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ ที่ไม่อยากจะดำเนินตามแนวทางเดิมๆ เช่นคนรุ่นพ่อแม่ของเขา ทาเคชิเลือกที่จะเลือกทางเดินชืวิตของเขาเองในแบบที่เค้าต้องการ และเริ่มออกห่างจากครอบครัวมากขึ้นเรื่อยๆ เขาก็เป็นเหมือนคนหนุ่มทุกคนที่ใฝ่ฝันจะเปลี่ยนแปลงโลกนี้ โดยทาเคชิ ได้สมัครเป็นทหารไปรบที่อิรัก และลูกชายคนเล็ก เคนจิ ซึ่งอยู่ในวัยที่เริ่มกำลังจะเป็นหนุ่ม เด็กวัยนี้มักจะชอบคิดว่าคนรอบๆ ข้าง เช่น พ่อ แม่ หรือ ครู ไม่มีใครเข้าใจเขา แต่เคนจิป็นเด็กที่มีความกล้าที่จะต่อสู้ในสิ่งที่ตัวเองเห็นว่าถูก หรือ กล้าที่เดินตามความฝันของตัวเอง เช่น การนำเงินค่าอาหาร ไปจ่ายเป็นค่าเรียนเปียโน ถึงแม้จะไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง แต่อย่างน้อยเขาก็ได้ทำอะไรบางอย่างเพื่อสิ่งที่ตัวเองรัก
สรุปสั้นๆ Tokyo Sonata เป็นหนังที่ถ่ายทอดถึงเรื่องราวซึ่งวนเวียนอยู่ที่ครอบครัวหนึ่งในโตเกียวอันประกอบไปด้วย พ่อผู้เงียบขรึมที่โดนไล่ออกจากงานแต่ไม่กล้าบอกให้คนอื่นทราบ แม่เป็นแม่บ้านที่ไม่เคยใส่ใจความปรารถนาของตัวเอง  ลูกชายคนโตเคว้งคว้างจนไปสมัครเป็นทหารไปรบที่อิรัก ส่วนลูกชายคนเล็กก็แอบพ่อแม่ไปเรียนเปียโน เพราะกลัวโดนดุ

-สิ่งที่ได้เรียนรู้จากภาพยนตร์ Tokyo Sonata
            คือ ทำให้ดิฉันได้รับรู้ถึงเรื่องราวที่สอดคล้องกับปัญหาที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน นั่นก็คือ ปัญหาครอบครัว ซึ่งในภาพยนตร์ได้สะท้อนให้เห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมาจากการที่ทุกคนในครอบครัวไม่มีเวลาให้กัน ต่างคนก็ต่างหมางเมินใส่กัน ซึ่งผลจากการที่ครอบครัวไม่มีเวลาให้กันนั้น ทำให้ครอบครัวเกือบแตกแยก  ครอบครัวไม่มีความสุข  ดังนั้นถ้าเราไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์ดังเช่นในภาพยนตร์เราควรนำสิ่งเราได้จากการชมภาพยนตร์นั้นมาคิดพิจารณา ว่าเราควรปฎิบัติตนเช่นไรไม่ให้เหมือนกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์ และที่สำคัญเมื่อไหร่ที่เรามีปัญหาเราควรที่จะพูดคุย ปรึกษาหารือกับครอบครัว และควรมีเวลาให้กับครอบครัว เพื่อเป็นการสร้างความอบอุ่นให้เกิดขึ้น และเมื่อครอบครัวเข้มแข็งปัญหาต่างๆก็จะคลี่คลายได้

-ทฤษฏีสังคมที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์ Tokyo Sonata
          -ดิฉันคิดว่าทฤษฏีสังคมที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์ Tokyo Sonata คือ ทฤษฎีความขัดแย้ง ซึ่งเป็นทฤษฎีที่มีรากฐานของสมมุติฐานที่ว่าสังคม คือ ระบบที่มีลักษณะซับซ้อนของความไม่เท่าเทียมกัน (Inequality) และความขัดแย้ง (Conflict) ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Macionis 1993 : 19) ทฤษฎีความขัดแย้งทางสังคมเป็นทฤษฎีที่สนับสนุนให้ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่มีความสมบูรณ์ขึ้น กล่าวคือ ทฤษฎีความขัดแย้งทางสังคมมีแนวความคิดว่า สังคมนั้นไม่ได้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่สังคมนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของการแบ่งแยก (Division) อันเกิดจากความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม นักสังคมวิทยากลุ่มความขัดแย้งทางสังคมจะพยายามค้นหาว่า ปัจจัยต่าง ๆ เช่น ชั้นทางสังคม เชื้อชาติ กลุ่มชน เพศ และอายุ มีความเกี่ยวพันกับความไม่เท่าเทียมของการกระจายทรัพยากรที่มีคุณค่าในสังคม ได้แก่ เงิน อำนาจ การศึกษา และเกียรติยศทางสังคมอย่างไร นอกจากนี้นักวิชาการในกลุ่มความขัดแย้งทางสังคมจะมองว่า ในสังคมเกิดการแข่งขันกันเพราะในสังคมมีความขัดแย้งกันอันเนื่องมาจากคนกลุ่มต่างๆ ในสังคมได้รับผลประโยชน์และผลตอบแทนที่ไม่เท่าเทียมกัน สิ่งตอบแทนและผลประโยชน์ที่คนในสังคมได้รับมีความแตกต่างกันออกไปตามตำแหน่งและหน้าที่ทางสังคม นักสังคมวิทยาในกลุ่มนี้ยังมองว่า สังคมมีความขัดแย้งกันอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้สังคมมีการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงตามมา ดังเช่นในครอบครัวของภาพยนตร์ซึ่งแต่ละคนต่างก็มีความขัดแย้งไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ ลูกชายคนโต และลูกชายคนเล็ก ทุกๆคนในเรื่องต่างก็มีความขัดแย้งทั้งเรื่องความคิด เรื่องทัศนคติต่างๆ  และเมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้นก็นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในเรื่องต่างๆตามมาดังเช่นในภาพยนตร์ 
 
-ถ้าหากเราเป็นตัวละครดังต่อไปนี้ จะทำอย่างไร


            -หากเป็นพ่อ  ดิฉันจะยอมบอกความจริงกับทุกคนที่บ้านว่าตนเองตกงาน และจะปรึกษากับทุกๆคนในครอบครัว จะเปิดใจยอมรับทุกสิ่งและเคารพการตัดสินใจของทุกๆคน จะใช้เหตุผลแทนการใช้กำลัง 

            -หากเป็นแม่  ดิฉันจะพยายามปรับตัวให้เข้ากับทุกๆคนในบ้าน จะหากิจกรรมต่างๆมาให้ทุกคนในครอบครัวทำร่วมกัน เช่น ไปเที่ยวด้วยกันพร้อมหน้าพร้อมตา และจะตั้งสติไว้ให้ดี เมื่อเกิดเหตุการณ์ใดๆขึ้นก็พยายามเปิดใจยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นให้ได้

            -หากเป็นพี่คนโต ดิฉันจะเชื่อฟังพ่อและแม่ และพยายามทำตัวเป็นลูกที่ดีช่วยแบ่งเบาภาระทางบ้าน  เช่น ไปหางานทำเพื่อหารายได้มาให้ครอบครัว และแบ่งเวลาให้กับครอบครัวเพื่อสร้างความผูกพันกับทุกๆคนในบ้าน

            -หากเป็นน้องคนเล็ก ดิฉันจะพูดกับพ่อดีๆบอกเหตุผลว่าทำไมถึงอยากเล่นเปียโน ค่อยๆพูดกับพ่อแม่อย่างใจเย็น และยอมรับการตัดสินใจของพ่อแม่ และที่สำคัญควรทำตัวให้เป็นคนดี

            -หากเป็นตนเอง ดิฉันจะเชื่อฟังพ่อและแม่  จะพยายามสร้างรอยยิ้มให้กับครอบครัว และปฏิบัติตนให้เป็นคนดีไม่เกเร ตั้งใจเรียน และทำตัวให้เป็นลูกศิษย์ที่ดีของคุณครู

            -อื่นๆ คนที่เป็นครูสอนเปียโนให้เคนจิ(ลูกชายคนเล็ก)น่าจะมาพบพ่อแม่ของเคนจิที่บ้านและมาช่วยอธิบายความสามารถพิเศษของเคนจิในด้านการเล่นเปียโน เพื่อช่วยทำให้พ่อของเคนจิเข้าใจลูกมากขึ้น

-ข้อคิดที่ได้จากภาพยนตร์ Tokyo Sonata
             -ในช่วงชีวิตของแต่ละคน อาจต้องเคยประสบกับปัญหาต่างๆ ดังเช่นในภาพยนตร์ ครอบครัวหนึ่งซึ่งเคยอยู่ด้วยกันอย่างสงบ เมื่อเกิดปัญหาขึ้นเกือบทำให้ครอบครัวของเค้าต้องพังลงเพราะพวกเค้ารับไม่ได้กับปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งในภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ให้ข้อคิดกับดิฉันในเรื่องการเตรียมรับมือกับปัญหาต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นกับเราในอนาคตได้ ดังนั้นเราควรที่เปิดใจให้กว้างเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ต่างๆ นอกจากนี้ภาพยนตร์ยังให้ข้อคิดให้เรื่องของเวลา เราควรที่มีเวลาให้กับครอบครัวอย่างเพียงพอเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่เข้มแข็งให้กับครอบครัว
-คำถามที่ยังค้างคาใจจากการชมภาพยนตร์ Tokyo Sonata คือ
            เพราะเหตุใด พ่อของเคนจิ(ลูกชายคนเล็กของครอบครัว)จึงไม่ชอบให้ลูกเล่นเปียโน และทำไมต้องใช้ความรุนแรงกับลูก



อ้างอิง    
-ข้อมูลเรื่องย่อละครจาก http://news.thaipick.com/news/23.html
-ข้อมูลรูปภาพจาก www.google.com






วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ปัญหาการแต่งกายไม่เหมาะสมของนักศึกษาในปัจจุบัน

ปัญหาการแต่งกายไม่เหมาะสมของนักศึกษาในปัจจุบัน

ปัจจุบัน ค่านิยมเรื่องเครื่องแต่งกายของวัยรุ่นวัยเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องแบบนักศึกษาหญิงและชายในระดับอุดมศึกษาตามสถาบัน ต่างๆ กำลังกลายเป็นสิ่งที่สังคมไทยเริ่มวิตกกังวลพฤติกรรมการแต่งกายแบบล่อแหลม ชอบสวมเสื้อที่รัดเข้ารูป กระโปรงสั้น ผ่าสูง หรือไม่ก็สวมกางเกงยีนซีดๆ ขาดๆ และสวมรองเท้าแตะ ซึ่งมองดูเป็นแฟชั่นที่ไม่เหมาะสม อาจก่อให้เกิดอันตรายถึงการถูกล่อลวงข่มขืนโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษาหญิง ต้องยอมรับว่าแฟชั่นเสื้อผ้าการแต่งกายของวัยรุ่นเปลี่ยนแปลงไปมาก และนิยมแต่งตัวตามวัฒนธรรมจากต่างชาติ ยิ่งชุดเครื่องแบบนักศึกษาในปัจจุบันก็ได้รับอิทธิพลดังกล่าว 

การแต่งกายตามแฟชั่นของนักศึกษาสาวในยุคปัจจุบันที่นิยมแต่งกายแบบ "สั้นเต่อ รัดติ้ว"คือ ใส่เสื้อนักศึกษาแบบตัวเล็กๆรัดรูป และใส่กระโปรงสั้นมากๆ นอกจากกระโปรงจะสั้นแล้วยังนิยมใส่กระโปรงแบบผ่าสูง รองเท้าก็เป็นรองเท้าส้นสูงสีสันลวดลายแฟชั่นเป็นอย่างมาก ทำให้เห็นแล้วเป็นภาพที่ไม่น่าดูเป็นอย่างยิ่ง ส่วนนักศึกษาชายก็ไม่แพ้กันนิยมแต่งกายแบบแนวเซอร์ๆ โดยเฉพาะการแต่งกายด้วยกางกางยีนแบบขาเดฟ  ปล่อยชายเสื้อออกนอกกางเกง สวมรองเท้าแตะ หรือรองเท้าแฟชั่นที่ไม่ใช่รองเท้าหนังสีดำ  ซึ่งจากปัญหาการ แต่งกายของนิสิต นักศึกษาอาจก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมต่างๆตามมา  อาทิ การล่วงละเมิดทางเพศ การข่มขืน เป็นผลทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงของสถาบันและของตนเองด้วย

       สาเหตุของปัญหาการแต่งกายไม่เหมาะสมของนักศึกษา น่าจะมาจากสาเหตุดังต่อไปนี้

      1.แต่งการเลียนแบบแฟชั่น เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องปกติที่ใครๆเค้าก็แต่งกัน

      2.แต่งการเลียนแบบดาราหรือเลียนแบบต่างชาติ โดยคิดว่า การแต่งกายแบบนี้จะทำให้ตนดูดี และเป็นจุดเด่น

ผลกระทบที่เกิดจากปัญหาการแต่งกายไม่เหมาะสมของนักศึกษา 

1.แฟชั่น ชุดนักศึกษายุคใหม่ที่เน้นตามกระแสแฟชั่นได้รับความนิยมสูง ขายดีทั้งชุดของผู้ชายและผู้หญิงเพราะราคาถูก ดูทันสมัย แต่ความจริงแล้วการแต่งกายเสื้อผ้าเล็กเกินไป นอกจากจะดูไม่งามแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพอีกด้วย

         2.ปัญหาอาชญากรรม การถูกล่วงละเมินทางเพศ การข่มขืน การถูกล่อล่วงไปกระทำอนาจารส่งผลต่อวัฒนธรรมการแต่งกายที่ดีงามของนักศึกษา ที่เป็นปัญญาชนกลับถูกมองในด้านลบเสื่อมเสียไปถึงสถาบันที่ศึกษา

         3.เป็นการตามกระแสนิยมที่ผิดๆ เป็นกระแสนิยมที่ทำให้เกิดการเลียนแบบการแต่งกายของเด็กตามผู้ใหญ่ ทำให้สิ้นเปลื้องเงินของผู้ปกครองโดยใช่เหตุและยังเป็นการปลูกฝังค่านิยมแก่คนรุ่นน้องที่ผิดๆ

      แนวทางแก้ไขปัญหา

1.กระทรวงศึกษาธิการ  กระทรวงวัฒนธรรม  สถาบันการศึกษาต่างๆ รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง  ควรร่วมมือร่วมใจกันรณรงค์การแต่งกายให้เหมาะสม

 2.ทางด้านสถาบันการศึกษาควรที่จะกำหนดกฎระเบียบ และกวดขันในเรื่องการแต่งกายอย่างเคร่งครัดและเอาจริงเอาจัง ควรมีการกำหนดบทลงโทษเรื่องการแต่งกายไม่เหมาะสม เพื่อให้นักศึกษาเกรงกลัวและปฎิบัติตาม


3.ทางด้านสื่อต่างๆ ควรจะนำเสนอตัวแบบหรือพรีเซนต์เตอร์การแต่งกายที่เหมาะสม เพื่อให้เป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องการแต่งกาย

อ้างอิงข้อมูล จาก:

http://learners.in.th/blog/thai-social/336640

ข้อมูลรูปภาพจาก :

www.Google.com